ขายของออนไลน์ยังไง.ให้ประหยัดภาษี
หลายๆท่านมักมีรายได้หลายทาง หรือประกอบอาชีพเสริม โดยเป็นพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ แต่ยังคงลืมไปว่าเราคำนึงถึงการวางแผนภาษี โดยใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีต่าง ๆ ตามที่กฏมหายได้ระบุไว้ เพื่อลดภาระภาษีให้น้อยลง และถูกต้องตามกฎหมายอีกด้วยจะได้ไม่เสียค่าปรับ เงินเพิ่มจากการขาดการวางแผนภาษีนั่นเอง ดังนั้นเรามารู้จักภาษีที่เกี่ยวข้องกันดีกว่า
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาทุกปี ไม่ว่าจะขายของออนไลน์เป็นอาชีพหลัก หรืออาชีพเสริม โดยยื่น ภ.ง.ด. 94: ภาษีครึ่งปี และ ภ.ง.ด. 90: ภาษีประจำปี โดยสามารถคำนวณ 2 แบบ คือ
1.(รายได้-ค่าใช้จ่าย-ค่าลดหย่อน) x อัตราภาษี = ภาษีที่ต้องจ่าย
2.รายได้ x 0.50% วิธีนี้จะใช้สำหรับรายได้ที่เกิน 1 ล้านบาทต่อปี แล้วนำมาเปรียบเทียบทั้ง 2 แบบ หากแบบไหนได้ตัวเลขมากกว่าให้ใช้แบบนั้นไปยื่นภาษี
ทั้งนี้ หลักการวางแผนภาษีแม่ค้าออนไลน์ จะขึ้นอยู่กับการเลือกวิธีหักค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อนต่างๆ เนื่องจากรายได้จากการขายของออนไลน์จะถือเป็นเงินได้ประเภทที่ 8 ซึ่งมีให้เลือกหักค่าใช้จ่ายได้ 2 แบบ คือ 1) แบบเหมา 60% และ 2) หักตามค่าใช้จ่ายต้นทุนการขายที่เกิดขึ้นจริง ซึ่งแบบนี้ต้องเก็บหลักฐานค่าใช้จ่ายให้ครบถ้วนถูกต้อง เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาตามมาหลังยื่นภาษี
ภาษีเงินได้นิติบุคคล
สำหรับพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ที่จดทะเบียนบริษัท ต้องยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคลโดยคำนวณจาก (รายได้- ค่าใช้จ่าย) = กำไรสุทธิ แล้วนำกำไรสุทธิที่ได้มาคิดภาษีตามอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ 20% แต่หากเข้าเกณฑ์ SME (ทุนไม่เกิน 5 ล้านบาท + รายได้ไม่เกิน 30 ล้านบาท/ปี) จะได้รับสิทธิลดอัตราภาษีดังนี้
กำไรสุทธิทางภาษี | อัตราภาษี |
ไม่เกิน 300,000 บาท | ยกเว้นภาษี |
300,001 - 3 ล้านบาท | 15% |
มากกว่า 3 ล้านบาท | 20% |
เคล็ดลับคือ พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ที่อยู่รูปแบบนิติบุคคล/บริษัท จะสามารถประหยัดภาษีได้จากการใช้ประโยชน์ทางด้านค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับกิจการ และอัตราภาษีที่ต่ำกว่าอัตราภาษีของบุคคลธรรมดา
ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ในกรณีที่มีรายได้เกิน 1,800,000 บาทต่อปี ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และยื่นนำส่ง ภ.พ. 30 เป็นประจำทุกเดือน โดยคำนวณ ภาษีขาย-ภาษีซื้อ (ชำระทุกเดือน)
บอกได้ว่าภาษีเป็นเรื่องที่เราไม่สามารถเลี่ยงได้ หากหลีกเลี่ยง หรือไม่จ่ายภาษี จะโดนคิดย้อนหลัง ซึ่งอาจจะทำให้ธุรกิจล้มหรือไม่มีเงินเพียงพอเลยก็เป็นได้ เพราะฉะนั้นอย่าลืมเรื่องวางแผนภาษีกันน้า ถ้าไม่รู้จะเริ่มต้นตรงไหน ไม่แน่ใจทักมาปรึกษาเราได้เลย